วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเพาะถั่วงอกคอนโด


 การเพาะถั่วงอกคอนโด
การเพาะถั่วงอกนั้นมีหลากวิธี ที่สามารถทำกันได้ไม่ยาก แต่ถ้าเรามีพื้นที่อันจำกัด การเพาะถั่วงอกแบบคอนโดก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถทำกันได้ง่ายๆ ไม่เปลืองพื้นที่ และ ยังได้ถั่วงอกในประมาณที่มากอีกด้วย

วัสดุ - อุปกรณ์สำหรับการเพาะถั่วงอกคอนโด : 

ถังพลาสติกขนาด 30 ลิตร (มีฝาปิด) ทึบแสง รูปทรง กลมหรือเหลี่ยมก็ได้ทำการเจาะรูให้ทั่วก้นถังด้วยสว่าน หรือเหล็กเผาไฟ เพื่อเป็นช่องทางระบายน้ำ จำนวน 1 ถัง

• กระสอบป่านที่ใหม่และสะอาด ตัดเป็นรูปวงกลมขนาดเท่ากับก้นถัง จำนวน 7 แผ่น

• ตะแกรงเหล็กรูขนาด 6 หุน จำนวน 1 แผ่น(จะไม่ใช้ก็ได้)

• ตาข่ายพลาสติก ต้องเป็นพลาสติกเท่านั้น เพราะวัสดุอื่นจะเป็นสนิมได้ง่าย (รูต้องเล็กกว่าเมล็ดถั่วเขียวและตัดเป็นรูปวงกลมเท่ากับก้นถัง) จำนวน 5 แผ่น

•โต๊ะหรือฐานตั้งถังพลาสติก (จำเป็นต้งอมีเพื่อให้มีพื้นที่ว่างระวางถังกับพื้น สำหรับช่องทางการระบายน้ำออกจากถังเพาะถั่วงอก สำหรับเพาะถั่วงอก ความสูงประมาณ 30-50 เซนติเมตร
•ถังพักน้ำ(รองรับน้ำที่ไหลออกจากถัวเพาะถั่วงอก) วางไว้บนพื้นเพื่อรองรับน้ำจากการรดต้นถั่วงอก

• เมล็ดถั่วเขียว จำนวนครึ่งกิโลกรัม ที่ผ่านการคัดเลือกเมล็ดลีบเสีย หรือ มอดกินออกแล้ว(คัดใช้แต่เมล็ดที่สมบูรณ์เท่านั้น)นำเมล็ดถั่วเขียวไปแช่ในน้ำอุ่นเป็นเวลา 4 ชั่วโมง หรือจะใช้วิธีการแช่ในน้ำธรรมดาทิ้งไว้เป็นเวลา 8 ชั่วโมง



วิธีการเพาะถั่วงอกคอนโด : 

1.นำวัสดุอุปกรณ์ทั้งหมดไปลวกน้ำร้อนก่อน เพื่อฆ่าเชื้อและเป็นการป้องกันการเกิดเชื้อรา

2.ตั้งถังสำหรับเพาะถั่วงอกบนโต๊ะหรือฐานที่เตรียมไว้
3.นำตะแกรงเหล็กรูขนาด 6 หุน ตัดพับให้ได้ความสูงประมาณ 2 นิ้ววางไว้ก้นถัง เพื่อเว้นช่องว่างให้รากถั่วงอกได้งอกลงมา

4.นำกระสอบป่านที่ตัดเตรียมไว้ วางลงไปเป็นชั้นที่หนึ่ง 1 แผ่น แล้ววางทับด้วยตาข่ายพลาสติก(มุ้งเขียว-ภาษาชาวบ้าน) จากนั้นนำเมล็ดถั่วเขียวที่ผ่านการแช่น้ำทิ้งแล้วโรยให้ทั่วบนชั้นตาข่าย

**** ข้อควรระวังคืออย่าให้เมล็ดถั่วเขียวซ้อนทับกัน/เสร็จขั้นตอนนี้จะเท่ากับการเพาะถั่วเขียวได้ 1 ชั้น

5. ทำซ้ำตามขั้นตอนในข้อ4. จนครบทั้ง 5 ชั้น

*** เมื่อครบทั้ง 5 ชั้น ในชั้นสุดท้ายด้านบนสุดจะเป็นเมล็ดถั่วงอก ให้นำกระสอบป่านปิดทับด้านบนอีก 2 ชั้น เพื่อเก็บความชื้น

9. รดน้ำทุกๆ 4-6 ชั่วโมงทุกวัน

วิธีการนับเวลาการเก็บถั่วงอกเพื่อจำหน่าย : 

•วันแรกที่เราทำการเพาะถั่วงอก (เราจะไม่นับ)

• วันถัดไปเราจะเริ่มนับเป็นวันที่ 1 ของการเพาะ(รดน้ำเหมือนเดิม) และวันที่ 2 (รดน้ำเหมือนเดิม)

•เข้าสู่วันที่ 3 สามารถเก็บถั่วงอกเพื่อจำหน่ายได้

•โดยช่วงเวลาที่เหมาะสำรับการเก็บถั่วงอกนั้นจะเป็นช่วงเช้า 04.00-05.00 น.
การเก็บเกี่ยวถั่วงอก : 

* ใช้มีดคมๆ ตัดรากถั่วงอกออกจากแผ่นที่ใช้ในการเพาะ


























































อ้างอิง

ข้อมูล : http://www.krasop.com/?cid=1683790&f_action=forum_viewtopic&forum_id=70815&topic_id=93317

โปรแกรม : เด็กหญิงณัฐริณีย์   ปัญโญ  เลขที่ 13  ชั้นม .3/3

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง วัดพระธาตุดอยน้อย

ชื่อโครงงาน                           วัดพระธาตุดอยน้อย
ชื่อผู้จัดทำ                              เด็กหญิง   กาญจนา     ทานุสาร     เลขที่ 2
ระดับ                                     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3
ครูที่ปรึกษา                            คุณครู  พร้อมพงษ์          แปงเครือ
ระยะเวลาดำเนินงาน            วันที่ 30 พฤษภาคม   .. 2556  -  วันที่  13   มิถุนายน   .. 2556
ความเป็นมาของการศึกษา
            เนื่องจากวัดพระธาตุดอยน้อยเป็นวัดที่มีความศักดิ์สิทธิ์มากและมีความเก่าแก่   แต่ไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวมาสักการะบูชา   เพราะอยู่ห่างจากตัวเมืองลำปางจำนวนมากและอยู่ในชนบทเล็กๆ   จึงไม่ค่อยมีใครเข้าไปเที่ยว  ผู้จัดทำจึงต้องศึกษาตำนานวัดนี้เพื่อนำความรู้ที่ได้มาเผยแพร่ต่อผู้ที่สนใจ   เพื่อที่จะให้ผู้ที่สนใจลองไปสักการะบูชาองค์พระบรมสารีริกธาตุและองค์พระเจ้าทองทิพย์ที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุดอยน้อยแห่งนี้  และเหตุผลที่ผู้จัดทำได้จัดทำโครงงานเรื่องนี้ขึ้น   เพื่อจะนำความรู้ที่ได้ศึกษามานั้นมาเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ Blogger และหวังว่าจะมีคนเข้าไปชมดูเว็บบล็อกแล้วลองมาเที่ยวดูแล้วนำไปบอกต่อคนอื่นๆแต่วิธีนี้จะใช้ได้ผลไม่มากก็น้อยและหวังว่าการทำโครงงานในครั้งนี้คงจะมีประโยชน์ต่อผู้อื่นไม่มากก็น้อย
วัตถุประสงค์
1.เพื่อต้องการศึกษาตำนานวัดพระธาตุดอยน้อย
2.เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาตำนานวัดพระธาตุดอยน้อยมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                3.สามารถอธิบายถึงตำนานวัดพระธาตุดอยน้อยได้ดีขึ้น


ตำนานวัดพระธาตุดอยน้อย
 เมื่อโบราณมา  มีเจ้านายขุนตาล  ท่านได้สร้างพยายามติดตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ตั้งแต่เวียงอะกะระถะ คือ เมืองจอมทอง  หรือ เมืองกล๋าง เจ้านายขุนตาลท่านก็พยายามติดตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาจนถึงวัดจ้างยันยายหิน  พระองค์ท่านได้ให้ศีลสรณาคมแก่เจ้านายขุนตาลผู้ชื่อว่าเจ้าก๋างคำในวันนั้น  ต่อจากนั้นพระองค์ก็เสด็จโปรดสัตว์ทั้งหลายมาถึงละปางคอน   ต่อมาก็คือเมืองลำปางในขณะนี้  พระท่านก็ได้แลเห็นภูมิสถาน  แล้วจึงถอดยังเกตุเกล้าเมาลีเอาพระเกศาออก๒เส้น เพื่อให้เป็นที่ไหว้สักการบูชา  ต่อมาท่านได้รับของไทยทานจากลัวะเฒ่าซึ่งอยู่เมืองกอนลัวะ  ได้ให้ทานแก่ท่านมีผลไม้  และน้ำผึ้งใส่กระบอกไม้ไผ่ถวายทานแก่พระพุทธเจ้า  แล้วพระองค์ก็เสด็จมาถึงดอยสันทรายน้อย  และได้สังเกตดูว่าภูมิสถานในที่นี้สมควรจัดตั้งพระพุทธศาสนาขึ้น   ดังนั้นพระองค์จึงได้โปรดตำนานให้แก่พญาเฒ่าผู้หนึ่งเป็นเจ้าฝ่ายเวียงตาล  พระท่านได้ถอดเอาพระเกศาธาตุออกไว้ให้เป็นที่สักการบูชาแก่ผู้คนทั้งหลายในดอยม่อนน้อยที่นั่นแล้ว  พระองค์ท่านได้เล็งเห็นยังเวียงตาล  เวียงลมอันสมควรจัดสร้างพระธาตุขึ้นอีกดวงหนึ่ง  ต่อไปท่านก็เสด็จไปรอดดอยนายพี่น้องพระองค์ท่านก็ได้ถอดเกศา  กะปะนาออกไว้เพื่อให้เป็นที่สักการบูชาแก่มหายักษ์ราชา  พระท่านก็ยังได้ให้ยังอะถะสิราสะระณาศีล ๘ ให้ท่าวแขว่นจำเอาไว้ตั้งพระตนหลาน  และตนที่อยู่ให้ปฏิบัติตามคำสอน  และตามจารีตประเพณี  ทั้งให้อยู่รักษาพระธาตุดอยนาย ๒ พี่น้อง  เวียงตาลและเวียงลม  ให้เจ้านาย   ผู้ใหญ่อยู่รักษาไพร่บ้าน  และเจ้าเมือง  ชื่อว่าเจ้าก๋างคำ  เวียงตาล  และเวียงลม  มาจนถึงบัดนี้   
 ต่อมาพวกชาวบ้านทรายคำ (คือบ้านสันทราย) ก็ได้เห็นรัศมีของพระธาตุขึ้นแสดงปฏิหาริย์  ในวันอังคารและวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ทุกเดือน  ต่อมาจุลศักราชว่าได้ ๑๒๕๗ (พ.. ๒๔๓๙) ปีมะแม  เดือน ๘ ออก๘ ค่ำ วันพุธ ได้นิมนต์พระอาโนจัยวัดปงสนุก  ได้ขึ้นไปนอนที่วัดดอยน้อย  ต่อมาวันรุ่งขึ้นได้เชิญชวนประกาศแจ้งให้เจ้าแขว่น  และท่านขุนนายทั้งหลายทั้งภายในและภายนอก  ได้ประกาศทุกหมู่บ้านทุกอาราม    ให้จัดหาเครื่องไทยทานมี กล้วย อ้อย  หมาก พลู และผลไม้ส้มหวานจัดดาไว้  พร้อมมีทั้งตุงอาจารย์  ผู้ที่ก่อตั้งก่อสร้างยังศาสนานี้  ข้าพเจ้าทั้งหลาย    ขออาราธนาคุณพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย  จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ได้รู้ที่อยู่แห่งพระองค์คำ  ต่อมาเมื่อได้โอกาสอาราธนาแล้ว  พระสงฆ์เจ้าทั้งหลาย  ได้ไปร่วมมือกันจัดการทุกอันที่ชำรุดไปนั้น  ขุดค้นหาทุกวันมิได้หยุด  ตั้งแต่เดือน๘ ออก ๑๓ค่ำ วันจันทร์ ปีเป้า หมู่พระสงฆ์ก็ได้ขุดค้นหาและได้รื้อถางรากไม้ขนอิฐ  ซึ่งพยายามกัน  พระเกศาของพระพุทธเจ้าก็ไม่พบ  ในการที่ขุดค้นหานี้มีทั้งขุนนาย ไพร่สับสนกันอลหม่าน  ทั้งหญิงและชายได้ร่วมกันเก็บอิฐ และหินดินมารวมกันไว้เป็นพันแล้ว  หมายเส้นคัดไว้ทั้งภายในและภายนอก  บอกให้มีเสมียนจดลงในสมุด  บางคนได้มากมาย  บางคนได้น้อย  บางคนได้ร้อย  บางคนได้ห้าร้อยไม่พอพัน  ได้ร่วมมือกันขนทุกด้านไปจนถึงเดือน๘แรม๗ค่ำ  วันพุธ  จึงได้พบขุนยนต์อันคนแต่ก่อน  ได้ก่อไว้เป็นเรือล้อมด้วยคอนกรีต  จึงงัดแงะและทุบจนสลาย จึงได้เห็นที่ตั้งของพระธาตุเจ้าองค์คำ  แล้วหมู่คนก็มีความปิติยินดีและชมเชยในการพบพระธาตุเจ้าคราวนี้  มีหมู่บ้านแม่ปุ้มได้พบก่อน  หมู่ผู้คนทั้งหลายได้เห็นในเรือนร่างของพระธาตุเจ้ามีผิวพรรณวรรณะ  และมี๖สี เช่น  ขาว  เหลือง   แสด  แดง  ชมพู  ส้ม  เมื่อดูแล้วมีเม็ดเท่าข้าวเปลือก  และข้าวสารหักครึ่ง  และบางเม็ดก็เท่าเม็ดงา  หรือเม็ดเท่าเม็ดผักกาดก็มี  อันที่จักพรรณนานับได้คือ  มีหลายธาตุด้วยกัน  ซึ่งตั้งอยู่บนดอยสันทรายที่นี้มี๓๒๒,๒๗๗ ดวง  ได้สังรวมไว้เป็นวิตถารตั้งศาสนาไว้กับพระธาตุเจ้า  ให้เจ้านายขุนตาลตั้งไว้ในดอยน้อย   ทีนี้พระจินะธาตุเจ้าอันพระสัปปัญญเจ้า  หยิบถอดออกใส่มือเจ้านายขุนตาลตั้งไว้ในดอยน้อยม่อนทรายคำ  และเดือน ๘ แรม ๘ค่ำ วันพฤหัสบดีหมู่ศรัทธาทั้งหลายได้ร่วมมือร่วมใจกันสร้างหอประถาแล้ว  ได้นิมันธนาการเอาพระจินะธาตุเจ้าขึ้นสู่หอสร้างประถาแล้ว  ได้ทำพิธีสรงน้ำพระธาตุเจ้าด้วยน้ำสุกันโท   และขัดสีพระมุนี  เสร็จแล้วเริ่มสรงน้ำ  ตั้งแต่เดือน๘ ออก ๘ค่ำ  ก็ได้สรงน้ำจนถึงเดือน ๙ ออก ๑๓ ค่ำ วันพุธ ปีเป้า  ได้นิมนต์เอาพระจินะธาตุเจ้าเข้าไปเมตตากรุณาในเวียงละกอน  ให้พระองค์เจ้าหลวงนอระถะนันชัย  สุขวดี  ได้สักการบูชาสรงน้ำแล้ว  และได้ถอดพระธาตุออกมาสถิตอยู่ดอยปงสนุก  ในวันเดือน ๙ ออก ๑๓๑๕ค่ำ  มีพระเมืองแก้ว  เจ้าบุญเลิศ  เกิดศรัทธา  ได้ทำการสระสรวง  และได้ทำการขอศีล  แล้วให้ทานจัตุปัจจัยพร้อมทั้งผอูบคำรองรับเอาพระธาตุเจ้า  ในขณะนั้นเกิดมีเมฆ  มีลม  เสียงฟ้าร้อง  ฟ้าแลบดังสนั่น  บนท้องฟ้ามืดมิดไปทั่วโลกาซึ่งเป็นสักขีแก่เจ้าที่ถวายทานในวันเพ็ญเดือน ๙ วันนั้น  ต่อมาเดือน ๙ แรม๑ ค่ำ  วันศุกร์  พระภิกษุอาโนจัยได้นิมนต์พระ  จินะธาตุเจ้าออกมาถึงหนองกระทิง มีท้าวเมืองมิ่งอยากจะนมัสการพระธาตุเจ้าไว้จัดทำเครื่องตกแต่ง  เครื่องอัฐบริขารเช่น  ตุง ช่อ  ฉัตรขาว และช้าง  ทำด้วยขี้ผึ้ง ประดับด้วยเงิน  แล้วได้ถวายแก้ว  ซึ่งมีรัศมีหลายสิ่ง ๑๔ ลูก  น้อมถวายในขณะนั้นมีสิ่งอันแปลกประหลาดเป็นที่อัศจรรย์ฟ้าฝนได้ตกลงมาอย่างขนาดหนัก  ต่อมามีเจ้าอาวาสวัดน้ำโท้ง  วัดท่าขัว  วัดหนองหล้อง  วัดหนองกระทิง  ได้ทำการสักการบูชาพระธาตุเจ้าแล้ว  พอฟ้าฝนขาดเม็ดลง  พระอาโนจัยก็ได้อาราธนาพระธาตุออกจากที่นั่น  ข้ามแม่น้ำตุ๋ย  มาถึงบ้านหนองหล่ม  หนองหมู  ในเวลานั้นศรัทธา และบริษัททั้งหลายได้นมัสการ  มีเจ้านายขุนตาล  และชาวบ้านห้างฉัตรได้สระสรงน้ำพระธาตุในวันนั้น  ต่อมาพอถึงเดือน ๙ แรม๑  ค่ำ  ได้นิมนต์พระธาตุเจ้าเข้าสู่วัดสันทราย  ในวันเสาร์  วันแรม ๒๔ ค่ำ ศรัทธา   ทั้งหลายได้พร้อมเพรียงกันทุก ๆคนเป็นประธานและครูบาอินต๊ะจักร  กับครูบาญาณะ  เจ้าอาวาสวัดสันทราย  เป็นกรรมการ  ควบคุมดูแลพระธาตุเจ้าในกิจกรรมต่างๆ ตลอดถึงวัน๕ ค่ำ คนทั้งหลายมีเจ้ามหาวงค์และพญาแขว่นบ้านปันง้าวเป็นเก้า   ก็ได้ตกแต่งเครื่องไทยทานไปน้อมถวายพระเจ้า ณ ที่วัดสันทราย  และขออาราธนาพระธาตุขึ้นสู่กีรีอันที่เป็นพระพุทธบาทสันฐานในมาตะสีมาที่นั้นแล้ว  มีท่านอาจารย์อาราธนาตังขะเน  มีมหาเมฆโฆร้องคืดคือดังฝนตกในบริเวณทั่วไป  ได้แห่องค์พระธาตุเจ้าไปสู่วัดดอยน้อยแล้วในขณะนั้นมีม้าขี่ที่นั่งเจ้านายขุนตาลได้ฟ้อนถวายสาธุการพระธาตุเจ้า  และได้ยกเอาพระธาตุเจ้าปักตศีล ๓ รอบแล้ว  พระอาโนจัยได้แบ่งภิกษุเป็น๔ เหล่าให้ตั้งอยู่ทั้ง ๔ ด้าน  ได้สวดปริตะมังการะทั้ง ๕ และสวดมหาสมัย  และสวดปัจจุทามังการะ ๓ จบ  แล้วสวดแก้วยอดแสงเดือน  และพระสงค์ทั้งหลายก็ได้เอาพระธาตุเจ้ายกใส่มือท้าวทั้ง ๕ ตน มีพระยาแขว่น  พระมหาวงค์เป็นพระยาอินทร์  พระยานนวัง  เป็นอาจารย์  พระยาจะตารถะอยู่ทิศตะวันออก  เจ้าที่นั่งขุนตาล  เป็นพระยาวิรุณรทา  อยู่หนใต้  อาจารย์คนหนึ่งเป็นพระยาวิรูปะขา  อยู่ทิศตะวันตก  อาจารย์คนหนึ่งให้เป็นพระยากุเวรยักขราชา  อยู่ทิศเหนือ   ให้เขายืนอยู่รับรองเอาพระธาตุเจ้าลงวางท้อง  เปกะสะเการะหว่างก้อนเส้าแก้ว ๓ ก้อน   ก่อด้วยดินและอิฐปิดฝามิดชิด  และเผาคอนกรีตให้ยึดมั่น  และให้ท้าวปะภามากุตั๋ง  คือท่านยอดก้อนเส้าแก้ว ๓ ก้อน  แล้วก้อนที่หนึ่ง  ได้แก่  พระเจ้ากะกุสันถะ  ก้อนที่สองได้แก่พระเจ้าโกนาคามานา  ก้อนที่สาม  ได้แก่  พระเจ้ากัสสะปะ ให้ก่อด้วยปูนอิฐตั้งยอดก้อน ๑   ชื่อตติยะกะตัง  แล้วก่อขึ้นยังธรณี  แล้วตั้งร้านช้างขึ้น ๓  ชั้น  ใช้ผ้าสำลีทับ ๓  ชั้น  แล้วตั้งแท่นแก้วปูหนังจำมะขันแล้วตั้งรังสี  แล้วใส่ไตรพระเจ้ากะกุสันทะ  ตั้งรังสีพระเจ้าโกณากามะนะ    ตั้งรังสีไตรพระเจ้ากัสสะปะ  แล้วใส่กาบบัวตั้งธรรมะกะระเน  คือหม้อคว่ำ  ให้ตั้งขันธ์แก้ว  ตั้งรังสีคอหล่อ  แล้วตั้งฝาบาตรตั้งสะระนัย  คือ    พระภิธรรมา ๗  ลูก  คือว่าบาตรมูลกันตัง  คือไม้เท้า  และก่อสร้างพระธาตุเจ้าขึ้นใหม่ในจุลศักราช ๑๒๘๘ (พ..๒๔๗o) ปียี่  เดือน ๔ แรม ๑ ค่ำ  วันอังคาร  ได้ก่อสร้างพระธาตุดอยน้อยได้สำเร็จลุล่วงโดยเรียบร้อยดี

ที่ตั้งวัดพระธาตุดอยน้อย
            วัดพระธาตุดอยน้อยตั้งอยู่   หมู่ ๑ บ้านสันทราย  ตำบลเวียงตาล  อำเภอห้างฉัตร  จังหวัดลำปาง ๕๒๑๙o เป็นวัดเก่าแก่แต่โบราณ  ดังตำนานกล่าวไว้  ตั้งเป็นเอกเทศบนเนินสูงไม่มีบ้านเรือนล้อมรอบ  จึงดูสงบร่มรื่นในเนื้อที่๑o ไร่ ๙๑ ตารางวา  ตามเอกสารที่ดิน พ..๒๕๓๘  ระบุไว้ว่า  เป็นวัดร้าง  ปัจจุบันได้มีการบูรณะซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างต่างๆ และปรับภูมิทัศน์โดยรอบ  ดูสง่างามขึ้นมาก  ในอดีตมีเจ้าอาวาสมาจำพรรษาหลายองค์คือ  ครูบาใจ๋  อุตตมา   ครูบาปวน  ครูบาจักร  ปัจจุบันหลวงพ่อสุเชษฐ์  สิริสาโร  รักษาการเจ้าอาวาสมาตั้งแต่พ..๒๕๔๗

คำไหว้พระธาตุดอยน้อย
วันตามิเกศา  ธาตุโย  กุนะโส  กุณามาป๋าเก๋  วิตา  ตุโย  โกตะนัง  มหาอนันตะ  มหาโมคลานะเถนะ  มหาอุปาลี  มหาเกจะนา  อะหังวันตามิสัปปะตา  อะหังตามิ  ตุโย
สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด
พระวิหารไม้แบบล้านนา   ทรงจั่ววิหารโล่ง  ภายในมีมณฑปประดิษฐานพระเจ้าทองทิพย์  (ขึ้นทะเบียนกรมศิลปากรแล้ว)


พระพุทธไสยาสน์ขนาดองค์ยาว ๙ วา  อยู่ด้านหลังมณฑป


พระธาตุเจดีย์ทรงล้านนา   ก่ออิฐและปูนขาว  บรรจุพระเกศาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ขึ้นทะเบียนกรมศิลปากรแล้ว)

รูปปั้นครูบาใจ๋  อุตตมา
 
บันไดขึ้นวัด  
บันไดขึ้นวิหาร

เอกสารอ้างอิง     http://www.mculture.in.th/moc_new/album/54411/