วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1) ความหมายและพัฒนาการของสื่อสารข้อมูลการสื่อสาร หมายถึง การส่งข้อมูลจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ส่วนข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักฐานในการหาหาความจริง โดยในม่นี้จะหมายถึงข้อมูลที่เกิดขึ้นจากเครื่องคอทพิวเตอร์ในรูปตัวเลข 0 หรือ1 ต่อเนื่องกันไป ซึ้งเป็นค่าที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ
        การพัฒนา ธรรมชาติของมนุษย์ต้องการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน ทำให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ทำงานสร้างสรรค์สังคมเพื่อให้สังคมมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จากการดำเนินชีวิตร่วมกันทั้งในด้านครอบครัว ด้านการทำงาน ตลอดจนสังคมและการเมืองทำให้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการพบปะ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันได้ เมื่อมนุษย์มีความจะเป็นที่ต้องมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน จึงมีการพัฒนาการหลายด้านที่ตอบสนองเพื่อให้ใช้งานได้ตามความต้องการ เช่น

    1.1 การสื่อสารด้วยรหัสจากอดีตกาล การสื่อสารต้องอาศัยคนนำสาร มีการถือเอกสารจากบุคคลหนึ่งเดินทางส่งต่อให้กับผู้รับปลายทาง ต่อมามีการสร้างรหัสเฉพาะเพื่อรับรู้กันเฉพาะผู้รับและผู้ส่ง จนเมื่อปี พ.ศ. 2379 แซมมวล มอร์ส (Samuel Morse) สามารถส่งรหัสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกด้วย คลื่นวิทยุ เรียกว่ารหัส มอร์ส ซึ่งเป็นรหัสที่ใช้จุดและขีดเป็นสัญลักษณ์ในการส่งวิทยุ ทำให้เกิดการสื่อสารระยะไกล และในเวลาต่อมาสามารถขยายผลไปใช้ในกิจกรรมวิทยุ และโทรทัศน์ นอกจากนี้รหัส  มอร์ส  ยังใช้ในการสื่อสารด้วยโทรเลขเป็นระยะเวลานาน


    เครื่องเคาะรหัส
    1.2 การสื่อสารด้วยสายตัวนำ ในปี พ.ศ. 2419 อเล็กซานเดอร์ แกรแฮม เบล (Alexander Graham Bell) ได้ประดิษฐ์ โทรศัพท์เพื่อการสื่อสารด้วยเสียงผ่ายทางสายตัวนำทองแดง  พัฒนาการเทคโนโลยีนี้ได้ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ จากเริ่มต้นใช้การสลับสารด้วยคน ต่อมาใช้ระบบการสลับสายแบบอัตโนมัติ ได้พัฒนาและใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ปัจจุบันโครงข่ายตัวนำที่ใช้ในระบบโทรศัพท์เป็นโครงข่ายดิจิทัลจึงทำให้การส่งข้อมูลสามารถใช้ร่วมกับแบบอื่นร่วมได้


     
     
    1.3 การสื่อสารโดยใช้คอมพิวเตอร์ การพัฒนาการทางด้านคอมพิวเตอร์เริ่มจากมีการประมวลผลแบบรวมศูนย์ (centralized processing) เช่น ใช้เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องเมนแฟรม เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (host) โดยเป็นศูนย์กลางให้ผู้ใช้ใช้งานได้หลายคนพร้อมกัน แต่ละคนเปรียบเสมือนเป็นสถานีปลายทางที่เรียกใช้ทรัพยากร หรือการคำนวณจากศูนย์กลางและให้ คอมพิวเตอร์ตอบสนองต่อการทำงานนั้น โทรศัพท์ในยุคแรก


ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาไมโครคอมพิวเตอร์ที่ทำให้สะดวกต่อการใช้งานส่วนบุคคล จนเรียกเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ว่า พีซี (Personal Computer : PC) การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์แพร่หลายอย่างรวดเร็ว เพราะใช้งานง่าย ราคาไม่สูงมาก สามารถจัดหามาใช้ได้ง่าย เมื่อมีการใช้งานกันมากบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ต่างๆ ก็ปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีให้ตอบสนองความต้องการที่สามารถทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม      เครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงเป็นวิธีการหนึ่งและกำลังได้รับความนิยมสูงมาก โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพราะสามารถตอบสนองได้ตรงตามความต้องการในการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้สะดวกและมีการประยุกต์ใช้งานได้กว้างขวาง เช่น การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล การสืบค้นและเรียกดูข่าว ผ่านระบบเว็บ การพูดคุย และส่งข้อความถึงกัน เป็นต้น
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail)
 
    1.4 การสื่อสารโดยใช้ดาวเทียม ดาวเทียมได้รับการส่งให้โคจรรอบโลกโดยมีเครื่องถ่ายทอดสัญญาณติดไปด้วยการเคลื่อนที่ของ      ดาวเทียมที่เคลื่อนไปพร้อมกับการหมุนของโลกทำให้คนบนพื้นโลกเห็นดาวเทียมอยู่คงที่ การสื่อสารผ่านดาวเทียมทำได้โดยสถานีภาคพื้นดินที่ต้องการสื่อสารจะส่งข้อมูลมาที่ดาวเทียม และดาวก็จะส่งข้องมูลต่อไปยังสถานีภาคพื้นดินปลายทางแห่งหนึ่งหรือหลายแห่งก็ได้ การับสัญญาณจะครอบคลุมพื้นที่ที่ดาวเทียมโคจรอยู่ซึ่งจะมีบริเวณกว้างมากทำให้ไม่มีอุปสรรคทางด้านภูมิศาสตร์และเหมาะกับพื้นที่ที่ไม่สามารถติดตั้งสายได้ เช่น แนวเขาบังสัญญาณ หรือเกาะที่อยู่กลางทะเล เป็นต้น สถานีภาคพื้นดินปลายทาง  
    1.5 การสื่อสารด้วยระบบไร้สาย การสื่อสารผ่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ กำลังได้รับความนิยมเพราะโทรศัพท์แบบ เคลื่อนที่มีความสะดวก คล่องตัว การสื่อสารแบบนี้ใช้คลื่นสัญญาณวิทยุ โดยผู้ใช้จะติดต่อกับศูนย์กลางสถานีรับส่ง การสื่อสารวิธีนี้มีการวางเป็นเซลครอบพื้นที่ต่างๆ ไว้ จึงเรียกระบบโทรศัพท์     ไร้สายแบบนี้ว่า เซลลูลาร์โฟน (cellular phone) พัฒนาการของระบบไร้สายยังได้รับการนำมาประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ อีกหลายอย่าง เช่น ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกว่า แลนไร้สาย และระบบการส่งข้อความ (paging) เป็นต้น โทรศัพท์เคลื่อนที่
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น เมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ พัฒนามาเป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลงแต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ไมโครคอมพิวเตอร์ก็ได้รับการพัฒนาให้มีขีดความสามารถและทำงานได้มากขึ้น จนกระทั่งคอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้ ดังนั้นจึงมีการพัฒนาให้คอมพิวเตอร์ทำงานในรูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
       ในอดีตเครือขายคอมพิวเตอร์คือการนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มาเป็นสถานีบริการหรือที่เรียกว่า เครื่องให้บริการ (server) และตัวไมโครคอมพิวเตอร์ตามหน่วยงานต่างๆ เป็นเครื่องใช้บริการ (client) โดยมี เครือข่าย (merwork) เป็นเส้นทางเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์จากจุดต่างๆ ปัจจุบันเครือข่ายคอมพิวเตอร์คือการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่างๆ ร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทวีความสำคัญและได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะสามารถสร้างระบบคอมพิวเตอร์ให้   เหมาะสมกับงานแต่ละประเภท ในธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่มีความสามารถในการลงทุนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูง เช่น มินิคอมพิวเตอร์ ก็สามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์หลายเครื่องต่อเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย
 
พัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
โดยให้ไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเป็นสถานีบริการที่ทำให้ใช้งานข้อมูลร่วมกันได้ เมื่อกิจการเจริญก้าวหน้าขึ้นก็  สามารถขยายเครือข่ายการใช้ คอมพิวเตอร์ โดยเพิ่มจำนวนเครื่อง หรือขยายความจุข้อมูลให้พอเหมาะกับองค์กรได้   ในปัจจุบันองค์กรขนาดใหญ่สามารถลดการลงทุนได้โดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เชื่อมโยงจากไมโครคอมพิวเตอร์กลุ่มเล็กๆ หลายๆ กลุ่มรวมกันเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรได้ โดยสภาพการใช้ข้อมูลสามารทำได้ดีเหมือนเช่นในอดีตที่ต้องลงทุนเป็นจำนวนมากเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาทที่สำคัญต่อหน่วยงานต่างๆ ดังนี้
1. ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มและสามารถทำงานพร้อมกัน
2. สามารถใช้ข้อมูลต่างๆ ร่วมกัน ทำให้องค์กรได้รับประโยชน์มากขึ้น
3. สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้คุ้มค่า เช่น ใช้เครื่องประมวลผลร่วมกัน แบ่งกันใช้แฟ้มข้อมูลให้เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์ที่มีราคาแพงร่วมกัน
4. ทำให้ลดต้นทุน เพราะการลงทุนสามารถลงทุนให้เหมาะสมกับหน่วยงานได้ 
ที่มา : http://kururat-01.blogspot.com/
2) ชนิดเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ
2.1 เครือข่ายส่วนบุคคล หรือแพน เป็นเครือข่ายที่ใช้ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สายในระยะใกล้ เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับโทรศัพย์มือถือ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับเครื่องพีดีเอ เป็นต้น
2.2 เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน เป็นเครือข่ายขนาดเล็กซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การสื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เป็นต้น โดยคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต่อเข้ากับอุปกรณ์เครือข่าย เช่น ฮับ สวิตซ์ เป็นต้น
2.3 เครือข่ายนครหลวง หรือแมน เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงแลนที่อยู่ห่างกัน เช่น ระหว่างสำนักงานที่อยู่คนละอาคาร ระบบเคเบิลทีวีตามบ้านในปัจจุบัน เป็นต้น โดยมีลักษณะการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่มีระยะห่างไกลกันในช่วง 5-40 กิโลเมตร ผ่านสายสื่อสารประเภทสายใยแก้วนำแสง สายโคแอกเซียล หรืออาจใช้คลื่นไมโครเวฟ
2.4 เครือข่ายกว้าง หรือแวน เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล มีการติดต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ เป็นต้น

ที่มา : หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่2

โพรโทคอลและอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

3. โพรโทคอลและอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
             การสื่อสารโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  จะต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์  และอุปกรณ์เครือข่ายชนิดต่างๆ กัน  ซึ่งไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยตรง  ดังนั้นจึงต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลที่ส่ง  และกำหนดมาตรฐานทางด้านฮาร์ดเเวร์และวอฟต์แวร์เพื่อให้อุปกรณ์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
          3.1 โพรโทคอล 
             โพรโทคอล  (protocol)  คือ  ข้อตกลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับวิธีที่คอมพิวเตอร์จะจัดรูปแบบและตอบรับข้อมูลระหว่างการสื่อสาร  ซึ่งโพรโทคอลจะมีหลายมาตรฐาน   และในแต่ละโพรโทคอลจะมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป
              การติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายนั้น  จำเป็นต้องมีโพรโทคอลที่เป็นข้อกำหนดตกลงในการสื่อสารขึ้น  เพื่อช่วยให้ระบบสองระบบที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจได้   โพรโทคอลนี้เป็นข้อตกลงที่กำหนดเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ  ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล   วิธีการตรวจสอบข้อผิดพลาดของการส่งเเละรับข้อมูล   การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องสองเครื่อง  ดังนั้น  จะเห็นได้ว่าโพรโทคอลมีความสำคัญมากในการสื่อสารบนเครือข่าย   ซึ่งหากไม่มีโพรโทคอลเเล้ว   การสื่อสารบนเครือข่ายจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้
             ในปัจจุบันการทำงานของเครือข่ายใช้มาตรฐานโพรโทคอลต่างๆ ร่วมกันทำงานมากมาย  นอกจากโพรโทคอลระดับประยุกต์เเล้ว  การดำเนินการในเครือข่ายยังมีโพรโทคอลย่อยที่ช่วยทำให้การทำงานของเครือข่ายมีประสิทธิภาพขึ้น   ซึ่งโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารในปัจจุบันมีกลายประเภท  ตัวอย่างเช่น
             1) โพรโทคอลเอชทีทีพี (Hyper  Text  Transfer  Protocol : HTTP) เป็นโพรโทคอลหลักในการใช้งานเวิลด์ไวด์เว็บ  โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นช่องทางสำหรับเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภาษาเอชทีเอ็มเเอล (Hyper  Text  Markup  Language : HTML)  ใช้รองข้อมูลตอบกลับระหว่างเครื่องลูกข่าย   ที่ใช้โปรแกรมค้นดูเว็บกับเครื่องเเม่ข่าย  (Web  server) โดยทำงานอยู่บนโพรโทคอลทีซีพี (Transfer  Control  Protocol : )    
            2)โพรโทคอลทีซีที / ไอพี (Transfer  Control Protocol / Internet Protocal : TCP / IP) เป็นโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ต  โดยมีการระบุผู้รับ  ผู้ส่งในเครือข่าย  และแบ่งข้อมูลออกเป็นแพ็กเก็ตส่งผ่านไปยังอินเทอร์เน็ต  ซึ่งหากการส่งข้อมูลเกิดความผิดพลาดจะมีการร้องขอให้ส่งข้อมูลใหม่
           3) โพรโทคอลเอสเอ็มทีพี (Simple Mail Transfer Protocol : SMTP) คือ โพรโทคอลสำหรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรินิกส์  (electronic  mail)   หรืออีเมล (Email) ไปยังจุดหมายปลายทาง
           4)บลูทูท (bluetooth)  เป็นโพรโทคอลที่ใช้คลื่นวิทยุความถี่  2.4 GHz ในการรับส่งข้อมูล  คล้ายกับระบบแลนไร้สาย  เพื่อให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่อพ่วงไร้สาย  เช่น  เครื่องพิมพ์  เมาส์  คีย์บอร์ด  โทรศัพท์เคลื่อนที่  หูฟัง  เป็นต้น  เข้าด้วยกันได้อย่างสะดวก
 ปัจจุบันมีโพรโทคอลในระดับประยุต์ใช้งานมากมาย  นอกจากโพรโทคอลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  เช่น  การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน  ใช้โพรโทคอลชื่อเอฟทีพี  (File  Transfer  Protocol : FTP) การโอนย้ายข่าวสารระหว่างกันใช้โพรโทคอลชื่อเอ็นเอ็นพี (Network  News Protocol : NNP) เป็นต้น  จะเห็นได้ว่าการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในทุกวันนี้  เป็นผลมาจากการพัฒนาโพรโทคอลต่างๆ ขึ้นใช้งาน  ซึ่งการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งจำเป็นต้องผ่านการใช้งานโพรโทคอลต่างๆหลายโพรโทคอลรวมกัน
           3.2 อุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่าย
1.โมเด็ม (Modem)    โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เมื่อข้อมูลถูกส่งมายังผู้รับละแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นแอนะล็อก เมื่อต้องการส่งข้อมูลไปบนช่องสื่อสาร  กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก เรียกว่า มอดูเลชัน (Modulation) โมเด็มทำหน้าที่ มอดูเลเตอร์ (Modulator) กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เรียกว่า ดีมอดูเลชัน (Demodulation) โมเด็มหน้าที่ ดีมอดูเลเตอร์ (Demodulator)โมเด็มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมี 2 ประเภทโมเด็กในปัจจุบันทำงานเป็นทั้งโมเด็มและ เครื่องโทรสาร เราเรียกว่า Faxmodem

 2. การ์ดเครือข่าย (Network  Adapter) หรือ การ์ด LAN
     เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเครื่องต่างกันได้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นหรือยี่ห้อเดียวกันแต่หากซื้อพร้อมๆกันก็แนะนำให้ซื้อรุ่นและยีห้อเดียวกันจะดีกว่า
และควรเป็น การ์ดแบบ PCI เพราะสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบ ISAและเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆมักจะไม่มี Slot  ISA ควรเป็นการ์ดที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps
ซึ่งจะมีราคามากกว่าการ์ดแบบ 10 Mbps ไม่มากนัก แต่ส่งขอมูลได้เร็วกว่า นอกจากนี้คุณควรคำหนึงถึงขั้วต่อหรือคอนเน็กเตอร์ของการ์ดด้วยโดยทั่วไปคอนเน็กเตอร์ ของการ์ด LAN จะมีหลายแบบ เช่น BNC , RJ-45 เป็นต้น ซึ่งคอนเน็กเตอร์แต่ละแบบก็จะใช้สายที่แตกต่างกัน
3. เกตเวย์ (Gateway)
      เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์หน้าที่หลักคือช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์  2 เครือข่ายหรือมากกว่า ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน


4. เราเตอร์ (Router)

     เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล
ระหว่างกันได้ เราเตอร์จะทำงานอยู่ชั้น Network หน้าที่ของเราเตอร์ก็คือ ปรับโปรโตคอล (Protocol) (โปรโตคอลเป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้


5. บริดจ์ (Bridge)

     บริดจ์มีลักษณะคล้ายเครื่องขยายสัญญาณ บริดจ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link บริดจ์ทำงานคล้ายเครื่องตรวจตำแหน่งของข้อมูล โดยบริดจ์จะรับข้อมูล จากต้นทางและส่งให้กับปลายทาง โดยที่บริดจ์จะไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงใดๆแก่ข้อมูล บริดจ์ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายมีประสิทธิภาพลดการชนกัน ของข้อมูลลง บริดจ์จึงเป็นสะพานสำหรับข้อมูลสองเครือข่าย



6. รีพีตเตอร์ (Repeater)

     รีพีตเตอร์ เป็นเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลในการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะทางไกลๆสำหรับสัญญาณแอนะล็อกจะต้องมีการขยายสัญญาณข้อมูลที่
ี่เริ่มเบาบางลงเนื่องจากระยะทาง และสำหรับสัญญาณดิจิตัลก็จะต้องมีการทบทวนสัญญาณเพื่อป้องกันการขาดหายของสัญญาณเนื่องจากการส่งระยะทางไกลๆ
เช่นกัน รีพีตเตอร์จะทำงานอยู่ในชั้น Physical
7.  สายสัญญาณ

     เป็นสายสำหรับเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆในระบบเข้าด้วยกัน หากเป็นระบบที่มีจำนวนเครื่องมากกว่า 2 เครื่องก็จะต้องต่อผ่านฮับอีกทีหนึ่ง โดยสายสัญญาณสำหรับเชื่อมต่อเครื่องในระบบเครือข่าย จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ



         -     สาย Coax  มีลักษณะเป็นสายกลม  คล้ายสายโทรทัศน์  ส่วนมากจะเป็นสีดำสายชนิดนี้จะใช้กับการ์ด LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ BNC สามารถส่งสัญญาณได้ไกลประมาณ 200 เมตร  สายประเภทนี้จะต้องใช้ตัว T Connector สำหรับเชื่อมต่อสายสัญญาณกับการ์ด LAN ต่างๆในระบบ และต้องใช้ตัว Terminator ขนาด 50 โอห์ม  สำหรับปิดหัวและท้ายของสาย



  -     สาย UTP (Unshied  Twisted  Pair)  เป็นสายสำหรับการ์ด  LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ RJ-45 สามารถส่งสัญญาณได้ไกลประมาณ 100 เมตร หากคุณใข้สายแบบนี้จะต้องเลือกประเภทของสายอีก โดยทั่วไปนิยมใช้กัน 2 รุ่น  คือ  CAT 3 กับ CAT5 ซึ่งแบบ CAT3 จะมีความเร็วในการส่งสัญญาณ10 Mbps และแบบ CAT 5 จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 100 Mbps แนะนำว่าควรเลือกแบบ CAT 5 เพื่อการอัพเกรดในภายหลังจะได้ไม่ต้องเดินสายใหม่  ในการใช้งานสายนี้  สาย 1 เส้นจะต้องใช้ตัว RJ - 45 Connector จำนวน 2 ตัว  เพื่อเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสายสัญญาณจากการ์ด LAN ไปยังฮับหรือเครื่องอื่น เช่นเดียวกับสายโทรศัพท์ ในกรณีเป็นการเชื่อมต่อเครื่อง 2 เครื่องสามารถใช้ต่อผ่านสายเพียงเส้นเดียได้แต่ถ้ามากกว่า 2 เครื่อง ก็จำเป็นต้องต่อผ่านฮับ
8.  ฮับ (HUB) 
     เป็นอุปกรณ์ช่วยกระจ่ายสัญญาณไปยังเครื่องต่างๆที่อยู่ในระบบ หากเป็นระบบเครือข่ายที่มี 2 เครื่องก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฮับสามารถใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อ ถึงกันได้โดยตรง  แต่หากเป็นระบบที่มีมากกว่า 2 เครื่องจำเป็นต้องมีฮับเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการเลือกซื้อฮับควรเลือกฮับที่มีความเร็วเท่ากับความเร็ว ของการ์ด เช่น  การ์ดมีความเร็ว  100 Mbps ก็ควรเลือกใช้ฮับที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps ด้วย ควรเป็นฮับที่มีจำนวนพอร์ตสำหรับต่อสายที่เพียงพอกับ เครื่องใช้ในระบบ  หากจำนวนพอร์ตต่อสายไม่เพียงพอก็สามารถต่อพ่วงได้  แนะนำว่าควรเลือกซื้อฮับที่สามารถต่อพ่วงได้  เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต
ที่มา :  http://webserv.kmitl.ac.th/~hs3lse/project/repeater.html
            http://it.stoulaws.com/2008/12/hub/
            หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารชั้นมัธยมศึกษาปีที่2









เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์

4. เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. การสื่อสารข้อมูล
              การสื่อสารข้อมูลจะต้องใช้เทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลและเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยกันเพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้  เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลแบ่งออกเป็น  2  ประเภทใหญ่ๆ คือ  เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลทางสายและเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลไร้สาย
              1.1 เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลทางสาย
การสื่อสารข้อมูลทางสายเป็นการติดต่อสื่อสารผ่านสายต่างๆ เช่น  สายโทรศัพท์  สายเคเบิล  ซึ่งเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง  6  ประการ  คือ
                1) เทคโนโลยีโมเด็ม  คำว่า  โมเด็ม  (Modem)  หมายถึง  การแปลง  และการแปลงกลับ  โมเด็มจึงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณอะนาล็อก  และแปลงสัญญาณอะนาล็อกกลับมาเป็นสัญญาณดิจิตอลเพื่อเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
                2) เทคโนโลยีไอเอสดีเอ็น  เป็นเทคโนโลยีรับส่งข้อมูลความเร็วสูงกว่าโมเด็ม  ใช้ระบบดิจิตอลตลอดเส้นทางการสื่อสาร  บริการด้วยความเร็วสามระดับ  คือ
                1. ความเร็ว 64-128  กิโลบิตต่อวินาที  เหมาะสำหรับใช้ตามบ้านหรือสำนักงานขนาดเล็ก
                2. ความเร็ว  2  เมกะบิตต่อวินาที  เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการความเร็วสูง
                3. บริการบรอดแบรนด์ความเร็วตั้งแต่  2  เมกะบิตขึ้นไป  ใช้กับสายเคเบิลใยแก้วนำแสง
                3) เทคโนโลยีดีเอสแอล  เป็นเทคโนโลยีท่อยู่ในกลุ่ม  xDSL  เช่น  ADSL,  HDSL  ลักษณะเด่นนี้คือ  สามารถรับส่งข้อมูลได้ทั้งภาพและเสียง  ความเร็วสูง  เวลาใช้อินเตอร์เน็ตยังสามารถใช้โทรศัพท์ได้เพราะชุมสายดีเอสแอลจะมี สลิตเตอร์ (slitter)  ทำหน้าที่แยกสัญญาณ  ระหว่างสายโทรศัพท์กับอุปกรณ์ดีเอสแอล
                4)  เทคโนโลยีความเร็วสูงเอสดีเอช  ใช้ใยแก้วนำแสงเป็นระบบสื่อสัญญาณ  ความเร็วขั้นต่ำ  155  เมกะบิตต่อวินาที  ความเร็วสูงสุดมากถึง  2.  กิกะไบต์ต่อวินาที  มีข้อจำกัดที่ต้นทุนสูงมาก  การดูแลรักษายาก  ประเทศไทยนำระบบนี้มาใช้เฉพาะเส้นทางหลักของโครงข่ายโทรคมนาคมของประเทศ
                5) เทคโนโลยีเคเบิลโมเด็ม  (cable  modem)  หมายถึง  อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงของผู้บริการเคเบิลทีวี  โดยใช้ใยแก้วนำแสงและสายเคเบิลต่อเชื่อมมายังผู้ใช้  และใช้เคเบิลโมเด็มต่อมายังคอมพิวเตอร์
                6) คู่สายเช่า-วงจรเช่า (leased  line)  หมายถึง  สายโทรศัพท์หรือวงจรที่ให้เช่าเพื่อใช้งานด้านการรับส่งข้อมูล  เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีสาขาอยู่หลายๆ แห่ง
            1.2 เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลไร้สาย
ในปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก  เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลไร้สายแบ่งเป็น  2  ประเภท  คือ
                1) เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่  เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถสื่อสารกันได้ด้วยเสียง  (voice)  และข้อความ  (content)  โทรศัพท์เคลื่อนที่ปัจจุบันที่นิยมคือระบบ  GSM  ย่อมาจาก  Global  System  for  Mobile  ให้ความเร็วไม่เกิน  9600  บิตต่อวินาที  ระบบจีพีอาร์เอส  (General  Packet  Radio  Service-GPRS)  และระบบเอ็ดจ  (Enhanced  rates  for  GSM  Evolution-EDGE) ให้ความเร็ว  32  กิโลบิตต่อวินาที
                2) เทคโนโลยีดาวเทียมระบบดีบีเอส  ย่อมาจากคำว่า  Direct  Broadcast  Satellite  (DBS) เป็นระบบที่แพร่สัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมด้วยความถี่สูงย่านไมโครเวฟไปยังสมาชิกโดยตรง  โดยใช้จานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  60  ซม.เป็นตัวรับสัญญาณ
 2. สื่อสัญญาณ
                สื่อสัญญาณ  หมายถึง  อุปกรณ์ในโรงข่ายโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ต้นทางไปยังปลายทาง  แบ่งออกเป็น  2  ประเภทตามลักษณะของการสื่อสาร  คือ
                2.1 สื่อสัญญาณทางสาย  แบ่งออกเป็น  3  แบบ  คือ
                1) สายบิตเกลียวคู่  (twisted-pair  line)  เป็นสายทองแดงลักษณะบิตเกลียวทำด้วยทองแดงใช้ได้นานและราคาไม่แพง  นิยมใช้เป็นสายโทรศัพท์ตามบ้านทั่วไป  ความเร็วสูงสุด  128  เมกะบิตต่อวินาที

               
               2)  สายโคเเอเชียน  (coaxial  cable)  เป็นสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้ม  และมีสายชิลต์ที่เป็นโลหะป้องกันสัญญาณรบกวนและมีฉนวนหุ้มภายนอกอีกชั้น  นิยมส่งสัญญาณโทรทัศน์  ความเร็วสูงสุด  200  เมกะบิตต่อวินาที
                3)  สายใยแก้วนำแสง  (Fiber-optic)  เป็นสายใยแก้วหรือพลาสติกบาง ๆ ขนาดเท่าเส้นผมหลายคู่รวมกัน  สัญญาณจึงไม่ถูกรบกวน  จึงรับส่งข้อมูลได้แม่นยำ  ส่งข้อมูลได้มากถึง  2  กิกะบิตต่อวินาที

              
  2.2  สื่อสัญญาณไร้สาย    แบ่งเป็น  5  ประเภท  คือ
                1)  อินฟาเรด  (infrared)  ใช้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  รับส่งข้อมูลได้  1-4  เมกะบิตต่อวินาที  ในระยะทางสั้นๆ  2-3 เมตร
                2) คลื่นวิทยุ  (radio  wave)  เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่ำ  สามารถเดินทางไปในอากาศได้ไกลๆ โดยไม่ต้องใช้สายสัญญาณ  เช่น  คลื่นวิทยุเอเอ็ม  เอฟเอ็ม  และอื่นๆ
                3) คลื่นไมโครเวฟ (radio  microwave)  เป็นคลื่นวิทยุที่มีความถี่สูงเรียกว่า  ย่านไมโครเวฟ  เดินทางเป็นเส้นตรง  ไม่สามารถผ่าสิ่งกีดขวางได้  การรับส่งสัญญาณต้องใช้จานรับสัญญาณไมโครเวฟ  รัศมีการรับส่งประมาณ  50  กม. หากต้องการส่งไกลๆ จะต้องใช้สถานีทวนสัญญาณส่งเป็นทอดๆ
                4) ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม  (Satellize) ใช้ย่านความถี่เดียวกับไมโครเวฟ  โดยส่งสัญญาณจากสถานีส่งขึ้นไปยังดาวเทียมบนท้องฟ้า  ณ  ตำแหน่งที่ต้องการ  ดาวเทียมจะส่งสัญญาณกลับมายังพื้นโลกในรัศมีทำการของดาวเทียมดวงนั้น ๆ
              5) ระบบการสื่อสารแบบไร้สายระยะใกล้ ใช้อุปกรณ์กำลังส่งต่ำย่านความถี่  2.4 กิกะเฮิร์ตซ์  มี 3 แบบ  คือ
                (1) บลูทูธ  (bluetooth)  ใช้กับคอมพิวเตอร์ไร้สาย  สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งภาคเสียงและข้อความ  ระยะใกล้  10  เมตร  ใช้คลื่นวิทยุ
                (2) ไวไฟ  (wireless  fidelity-WIFI) เป็นมาตรฐานดิจิตอลแบบไร้สาย  ช่วยทำให้คอมพิวเตอร์รับส่งข้อมูลอินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง  รัศมีประมาณ  100  เมตร  ความเร็วสูงกว่าบลูทูธประมาณ  10  เท่า
                (3) โฮมอาร์เอฟ  (Home  Radio  Frequency-Home  RF)  เป็นเครือข่ายไร้สายมาตรฐานเปิด  ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจำนวนประมาณ  10  เครื่อง  และอุปกรณ์ในระยะไม่เกิน  50  เมตร  นิยมใช้ตามบ้าน  หรือสำนักงานขนาดเล็ก
ที่มา :       หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารชั้นมัธยมศึกษาปีที่2

ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

5. ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
      ในปัจจุบันความสำคัญของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่คำนึงถึง อย่างมาก ด้วยเหตุว่าการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์หลายประการด้วยกัน   คือ
 1.  จัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณ อิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึก (Diskette) ที่มีความหนาแน่นสูงได้  แผ่นบันทึก  แผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร  สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้นถ้าข้อมูล ผ่านสายโทรศัพท์ด้วยอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาทีก็จะสามารถส่งข้อมูล 200 หน้า ได้ในเวลา 40 นาที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลา มานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
 2ความถูกต้องของข้อมูล  โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์ จาก
จุดหนึ่งไปยังจุดอื่นด้วยระบบดิจิทัล  วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูล หากข้อมูล
ผิดพลาด ก็จะมีการรับรู้และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้
ทำการส่งใหม่ หรือกรณีผิดพลาดไม่มาก ผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนเองแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
 3.  ความเร็วของการทำงาน สัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้ คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูล จากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง หรือการค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูล ขนาดใหญ่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว  ความรวดเร็วของระบบจะทำให้ผู้ใช้สะดวกสบาย เช่น บริษัท  สายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของ สายการบิน สามารถทำได้ทันที
 4.  ประหยัดต้นทุน  การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่อเข้าหากันเป็นเครือข่ายเพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล  โปรแกรมการทำงาน  จะทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่แพง เมื่อเทียบกับการ  จัดส่งแบบวิธีอื่น
 5.สามารถเก็บข้อมูลเป็นศูนย์กลาง    สามารถมีข้อมูลเพียงชุดเดียวในระบบเครือข่ายซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนกลาง  ซึ่งจะมีประโยชน์มากในกรณีที่ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลง
6.การใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกันได้    สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกันได้

7.การทำงานแบบกลุ่ม   สามารถใช้ประโยชน์ของระบบเครือข่ายในการทำงานในแผนกหรือกลุ่มงานเดียวกันได้เป็นอย่างดี


แหล่งที่มา : หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารชั้นมัธยมศึกษาปีที่2
                 http://www.skn.ac.th/a_cd/syllabus/72.html

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บรอดเเบนด์เเละเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายในยุคต่างๆ






เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในยุคต่างๆ


บรอดแบนด์
บรอดเเบนด์   คือ   ระบบการสื่อสารที่มีความเร็วสูง   รับปริมาณการสื่อสารได้มากมายหลายช่องสัญญาณ ซึ่งปัจจุบันระบบบรอดเเบนด์ในประเทศไทยได้เข้ามาสู่ผู้ใช้งานตามบ้านแล้ว   ด้วยบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Asymmetric Digital Subscripber Line : ADSL)   ซึงทำให้การใช้บริการอินเทอร์เน็ตมีความเร็วสูงสุดมากกว่า 2.0 เมกะบิตต่อวินาที   แต่ในทางธุรกิจโทรคมนาคม   คำว่าบรอดเเบนด์อาจหมายถึง   ระดับความเร็วที่มากกว่าหรือเท่ากับ 256 กิโลบิตต่อวินาที   ดังนั้นจึงถือว่าระดับความเร็ว 256 กิโลบิตต่อวินาที   เป็นระดับความเร็วขั้นต่ำสุดของบรอดแบนด์นั่นเอง
             ยุค  1G เป็นยุคที่ใช้สัญญาณวิทยุในการส่งข้คลื่นเสียง   โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น  สมารถใช้งานทางด้านเสียงได้อย่างเดียว  คือ   สามารถโทรออก - รับสายเท่านั้น   ถือเป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์เเบบเซลลูลาร์   โดยใช้วิธีการปรับสัญญาณแอนะล็อกเข้าช่องสื่อสาร  ซึ่งแบ่งความถี่ออกเป็นช่องเล็กๆ  ด้วยวิธีการนี้จึงมีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณและการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ   เกิดการติดขัดเรื่องกายขยายจำนวนเลขหมายและการขยายแถบความถี่   ซึ่งโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ยังมีขนาดใหญ่  และใช้กำลังไฟฟ้ามากอีกด้วย
             ยุค 2G เป็นยุคที่เปลี่ยนจากการส่งคลื่นทางคลื่นวิทยุแบบะแอนะล็อกมาเป็นการใช้สัญญาณดิจิทัล   โดยส่งผ่านทางคลื่นไมโครเวฟ   ทำให้สามารถใช้งานทางด้านข้อมูลได้อกเหนือจากการใช้งานทางเสียงเพียงอย่างเดียวโดยสามารถรับส่งข้อมูลต่างๆ และเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ   จนเกิดการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐานหรือที่เรียกว่า เซลล์ไซต์ (cell   site) และก่อให้เกิดระบบGSM   (Global   System for Mobile Communication) ซึงทำให้สามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั่วโลก   หรือเรียกว่า   บริการข้ามเครือข่าย (roaming)




  Ericsson Hotline โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ Portable Set               โทรศัพท์มือถือเครื่องแรกของ Motorolaที่ใช้ระบบ GSM ออกวางจำหน่ายในปี พ..2534 
ใช้ระบบ NMT450เมกะเฮิรตซ์ ในยุค 1G                                                                                                      

                                                  













ตัวอย่างโทรศัพท์มือถือ ยุค 2G

             ยุค G3 ใช้บริการมัลติมีเดีย   เเละส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น   มีความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลสูงสุด 2 เมกกะบิตต่อวินาที   หรือเร็วกว่าเครือข่าย EDGE   ที่ใช้ในปัจจุบันเกือบ 10  เท่า   มีช่องสัญญาณความถี่   ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า   เข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้สะดวกยิ่งขึ้น   สามารถใช้การสนทนาแบบเห็นหน้า(video  telephony)  และการประชุมทางไกลผ่านวิดีโอ (vidio  conference) ช่วยให้สามารถสื่อสารได้พร้อมกันทั้งภาพเเละเสียง   รับชมโทรทัศน์หรือวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ตในรูปแบบดิจิทัล   ซึ่งมีสัญญาณภาพที่คมชัด   และสามารถใช้บริการข้ามเครือข่าย (roaming) ได้เช่นเดียวกับระบบ GSM
                                                                                                                                                                 
                              

ตัวอย่างโทรศัพท์มือถือ ยุค 3G

                  ยุค G4 เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ   มีความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20 - 40  เมกกะบิตต่อวินาที   สามารถเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูบเเบบสามมิติ(three - dimensional : 3D) ระหว่างผู้โทรศัพท์ด้วยกันเองโดยให้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สาย  เทเลคอนเฟอเรนซ์ เป็นต้น
                                                                                                                                                                      
                                    
            
ตัวอย่างโทรศัพท์มือถือ ยุค 4G



แหล่งที่มา : หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2